วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กิจกรรมวันพ่อ...ฟรี!! ที่พิพิธภัณฑ์เด็ก









.. วันพ่อปีนี้ พ่อเข้าฟรี
ที่พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร มากระชับความอบอุ่นระหว่างพ่อ-ลูก ผ่านกิจกรรมแสนสนุกมากมาย อาทิ...

ชวนลูกบอกรักคุณพ่อผ่านกล้องโทรทัศน์ บันทึกลง DVD มอบเป็นของขวัญแทนใจ กับกิจกรรม "สื่อรักวันพ่อ"

สานสัมพันธ์ในครอบครัวกับกิจกรรม "พ่อลูกรวมใจช่วยกันเล่า" ที่ห้องสมุดพ่อสอนให้อ่าน แบ่งปันเรื่องเล่าดีๆ ผ่านละครหุ่นมือแสนสนุก

"การ์ดแทนใจ" ร่วมประดิษฐ์การ์ดหนึ่งเดียวจากใจให้พ่อ กิจกรรมบนเวที ชิงของรางวัลมากมาย

พาเหรดเจ้าหญิง เจ้าชายที่อาคารดิสนีย์ เลิร์นนิ่ง ทาวน์

นอกจากนี้ยังมี Walk Rally โลกร้อน ในอาคารจักรวาล กิจกรรมที่ส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในครอบครัว เพียงตอบคำถาม Walk Rally ให้ถูกทุกข้อ รับ Family Green Card มูลค่า 490 บาท หรือ Kiddy Green Card มูลค่า 180 บาท ฟรีทันที ด่วน มีจำนวนจำกัด สอบถามรายละเอียดที่
โทร. 02 615 7333 หรือ www.bkkcdm.com

4 วิธี..รักวัวให้ผูก รักลูกให้ทำโทษ

...วัยเด็กเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ พ่อแม่จึงมีหน้าที่คอยดูแลเอาใจใส่และให้บทเรียนแก่ลูกเมื่อลูกทำผิดพ่อแม่หลายๆ คนมักมีความกังวลว่าควรจะอบรมสั่งสอนอย่างไร เพื่อไม่ให้ดูรุนแรงหรือหละหลวมเกินไป เรามีข้อแนะนำดีๆ ในการอบรมลูกน้อยเมื่อเขาทำผิดมาฝากกันค่ะ

1. Time out เมื่อลูกทำผิดให้พาไปในที่เงียบๆ ไม่มีสิ่งดึงดูดความสนใจ เพื่อให้เขาได้ทบทวนการกระทำของตัวเอง โดยระยะเวลาอาจขึ้นอยู่กับอายุของลูก เช่น 1 นาทีต่อ 1 ขวบ หรือจนกว่าลูกจะสงบสติอารมณ์ลงได้ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ลูกรู้จักควบคุมตัวเองได้ดีและยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

2. สอนและตักเตือนด้วยวาจา
ไม่ใช้การบ่นหรือการดุด่า แต่เป็นการบอกให้ลูกทราบถึงเหตุและผลว่าสิ่งที่ทำไม่ถูกต้องอย่างไร และแนะนำสิ่งที่ถูกที่ลูกควรทำควรเป็นอย่างไร อาจใช้น้ำเสียงที่เรียบๆ แต่หนักแน่นจริงจัง เพื่อให้ลูกรู้ว่าพฤติกรรมนั้นไม่เหมาะสม สมควรได้รับการแก้ไข และที่พ่อแม่เตือนก็เพราะไม่อยากเห็นลูกทำผิดไม่ใช่เพราะโกรธหรือไม่รัก

3. ส่งสัญญาณเตือนก่อน
หากลูกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม พ่อและต้องต้องส่งสัญญาณเตือนให้ลูกหยุดพฤติกรรมดังกล่าว ไม่เช่นนั้นอาจจะต้องมีการจัดการกับพฤติกรรมของเขาโดย การเตือน อาจใช้น้ำเสียงที่เข้มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ลูกรับรู้ถึงสัญญาณอันตรายที่ซ่อนอยู่ ทำให้ลูกมีโอกาสแก้ตัวหรือเตรียมตัวเตรียมใจหากต้องถูกลงโทษ

4. ทำโทษด้วยการตี
วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้าย หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากวิธีนี้ หากมีเหตุผลไม่เพียงพอหรือทำไปด้วยอารมณ์โกรธ ผลที่ได้จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้น การตีลูกจะต้องคำนึงถึงหลักดังนี้

อย่าตีพร่ำเพรื่อ การตีลูกไม่จำเป็นต้องตีบ่อยๆ เพราะเด็กที่โดนตีบ่อย มีแนวโน้มที่จะเกเรและต่อต้านมากยิ่งขึ้น ดังนั้น พฤติกรรมบางอย่างที่สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องลงไม้ลงมือ เช่น การร้องไห้โวยวายการปัสสาวะรดที่นอน ใช้การตักเตือนก็เพียงพอ

การตีแรงๆ หรือการตีโดยใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง จะทำให้ลูกรู้สึกหวาดกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้พ่อแม่ ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องระมัดระวังอย่าใช้กำลังกับลูกมากเกินไป และควรจะตีเมื่อลูกทำผิดเรื่องเดิมเป็นครั้งที่สอง ทั้งๆ ที่พ่อแม่ได้ตักเตือนไปแล้ว จึงจะเป็นการตีที่สมเหตุสมผล

การใช้ไม้เรียว เข็มขัด หรือไม้แขวนเสื้อตีลูก จะเป็นการทำให้ลูกบาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ ลูกจะรู้สึกหวาดกลัวและตื่นตระหนก สิ่งที่ตามมาคือลูกจะไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นความผิด แต่คิดว่าพ่อแม่ใช้กำลังกับเขา

อย่าตีลูกต่อหน้าคนอื่น การตีลูกต่อหน้าคนอื่นจะทำให้ลูกอับอายและเสียหน้า วิธีจัดการเมื่อลูกทำตัวไม่น่ารักขณะมีผู้อื่นอยู่ด้วย ให้พ่อแม่ใช้วิธีเตือนด้วยเสียงเข้มๆ ก่อน หากเขาไม่หยุดก็ให้พาลูกแยกออกไปสักพักแล้วค่อยลงโทษ

การที่พ่อแม่จะอบรมสั่งสอนลูก สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การระงับสติอารมณ์และใช้เหตุผลให้มาก และพ่อแม่ก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กๆ ได้เห็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะเด็กจะซึมซับพฤติกรรมของคนรอบข้างได้เร็ว และเมื่อลูกทำสิ่งที่ดี พ่อแม่ก็ต้องไม่ลืมที่จะให้กำลังใจเพื่อให้ลูกมีกำลังใจที่จะทำดีต่อไปค่ะ

เสียงดี ๆ ที่ลูกน้อยอยากฟัง


ลูกมีต้นทุน ทักษะการฟังหรือได้ยินมาตั้งแต่อยู่ในท้องของคุณแม่ สิ่งสําคัญคือ เสียงที่ลูกรับรู้ช่วยเชื่อมโยงข้อมูล ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมากมาย และเพื่อให้หายข้องใจเรื่องเสียง เรามาอ่านข้อมูลต่อไปนี้กันค่ะ

เสียงเพลง เสียงแม่ที่ร้องเพลงกล่อมลูก แม้เป็นเสียงที่คุ้นเคยมาก่อนแล้ว ถึงตอนนี้ก็ยังชอบฟังมากที่สุดโดยเฉพาะเสียงเพลง ที่มีเนื้อร้อง คําคล้องจอง อย่างเพลงกล่อมเด็ก ก็ช่วยปูพื้นฐาน เรื่องภาษาให้กับลูก และหากสังเกตคุณแม่จะพบว่า
• เสียงเพลงที่มีจังหวะตื่นเต้น สนุกสนาน ลูกจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวแขนขา • เสียงเพลงที่มีจังหวะเบาๆ ช้าๆ ลูกจะอยู่สงบนิ่ง อารมณ์ดี รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย

นอกจากเสียงเพลงแล้ว เครื่องเล่นที่มีเสียง ก็ช่วยกระตุ้น ทักษะการฟัง ทําให้เกิดการเรียนรู้ที่จะใช้สายตาประสานกับกล้ามเนื้อมัดเล็ก อย่างนิ้วมือเพื่อกดหรือเคาะเป็นจังหวะ

เสียงดนตรี คือเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรี ประกอบกันเป็นทํานองเพลง เสียงดนตรีสําหรับเด็กเล็ก แนะนําว่าควรเป็นเสียงที่มีจังหวะ ท่วงทํานองเบาๆ ช้าๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความรู้สึก เสียงดนตรีที่รู้จักในวงกว้างแวดวงพ่อแม่ ก็คือดนตรีคลาสสิก

ในงานวิจัยพบว่า คลื่นเสียงดนตรีคลาสสิก ซึ่งเป็นคลื่นเสียงที่มีระเบียบ เมื่อเข้าไปกระตุ้นอวัยวะการรับเสียง ต่อเนื่องไปยังสมองส่วนการรับรู้ เกิดการรับ-ส่งและเชื่อมโยงส่งถึงสมอง เซลล์สมองจะเกิดการแตกตัวมากขึ้น สมองจึงเปิดรับสิ่งต่างๆ เรียนรู้ได้ดีเพราะมีสมาธิจากการฟัง หรือหากไม่เกี่ยง เสียงดนตรีไทยที่มีมานานในบ้านเรา ก็มีจังหวะ ท่วงทํานองสบายๆ ฟังได้ง่าย เลือกเปิดให้ลูกฟังได้เช่นกันค่ะ

เสียงต้องห้าม คือเสียงที่มีระดับความดังเกิน 70-80 เดซิเบล ร่วมกับการได้ยินบ่อยครั้ง เช่น เสียงเครื่องจักรในโรงงาน ถือเป็นเสียงต้องห้ามควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจส่งผลทําให้ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง หรือเสียงบางประเภท เช่น เสียงแตรรถยนต์ เสียงดนตรีที่มีจังหวะรุนแรง จังหวะไม่แน่นอน ออกแนวอึกทึก สับสนวุ่นวาย จัดเป็นเสียงที่ไม่พึงประสงค์ที่ทําให้เด็กอาจไม่ชอบ ที่สําคัญ ส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ กลายเป็นเด็กหงุดหงิด งอแงได้ง่าย มีทัศนคติกับเสียงนั้นๆ

DO...

• ร้องเพลงหรือพูดคุยกับลูกอยู่บ่อยๆ สอนให้รู้ด้วยว่า เสียงนั้นเป็นเสียงอะไร

• ฝึกทักษะการฟังเสียงผ่านการเล่น เช่น การเคาะ ตี ของมีเสียงเป็นจังหวะ เช่น โมบาย กระดิ่ง มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง

• เสียงจากธรรมชาติ ก็ช่วยให้ลูกเรียนรู้ เพิ่มประสบการณ์ การฟังที่หลากหลาย เช่น เสียงน้ำไหล เสียงลม

เสียงมีอิทธิพลส่งต่อถึงอารมณ์และจิตใจ โดยเฉพาะเสียงของพ่อแม่ ที่ทําให้ลูกอบอุ่นและปลอดภัย ที่สําคัญ เป็นจุดเริ่มต้นต่อยอดไปถึงพัฒนาการทางภาษา และการพูดในอนาคต ถ้าการฟังของลูกดี การสื่อสาร ใช้ภาษาก็ย่อมดีไปด้วย